เขียน Microservice ด้วย Node.js และ Seneca.js
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านกระแส Microservice ได้มาแรงมากๆ โดยที่ทำงานผมปัจจุบันแอพพลิเคชัน แอพเดียวนี่มี Microservice support อยู่หลังบ้านเป็น 10 ระบบแล้ว ดังนั้นถ้าผมไม่พูดถึงมันจะไม่เทรนนะจ๊ะ แต่จะไม่ลงรายละเอียดในส่วนของทฤษฎีเยอะนะครับเพราะมีพี่ๆ เขียนไว้เยอะแล้ว เรามันสายบู๊อยู่แล้วว่ะฮ่ะฮ่ะ
Microservice คืออะไร
Microservice คือแนวคิดการพัฒนาโปรแกรมแบบแยกโปรแกรมเป็นส่วนเล็กๆ ที่สามารถทำงานแยกออกจากกันได้มี environment แยกออกจากกัน แต่ก็สามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อรวมกันกลายเป็นระบบที่ใหญ่ขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบธนาคาร (คลาสสิคสุดๆ)
ในระบบธนาคารหนึ่งธนาคารก็จะมีระบบต่างๆ ประมาณนี้
1. payment โอนเงิน / จ่ายเงิน
2. balance จัดการยอดเงินผู้ใช้
3. deposit ฝากเงิน
4. sms แจ้งเตือนฝากถอน
อันนี้คือตัวอย่างคร่าวๆ นะครับจากตัวอย่างเราจะเห็นว่าถ้าเป็นสมัยก่อนเขียนไว้ในระบบเดียวกัน (Monolithic) ซึ่งจะว่าดีก็ดีในแบบของเค้านะครับแต่ว่าเราจะไม่พูดเพราะก็คงรู้ๆ กันอยู่แล้ว ข้อเสียที่สำคัญของสถาปัตยกรรมลักษณะนี้คือ
1. ถ้าระบบล่มจะล่มหมดเลย
2. ทั้งทีมจำเป็นต้องถนัดเครื่องมือเดียวกันเช่น ถ้าใช้ Node.js ก็ต้อง Node.js ทั้งระบบ
3. ดูแลรักษายาก
นี่แค่ที่ผมคิดออกนะครับเพราะเหตุนี้แนวคิด Mircroservice จึงเกิดขึ้นเพื่อมาแก้ปัญหาของสถาปัตยกรรมแบบเก่าโดยเขียนระบบที่กล่าวมาข้างต้น แยกกันดังนี้
1. payment โอนเงิน / จ่ายเงิน อย่างเดียวสายเปย์ ฐานข้อมูลก็เก็บแค่ transaction ที่โอนอย่างเดียว
2. balance จัดการยอดเงิน วันๆทำแต่บัญชีอย่างเดียวไม่ต้องทำอะไรละ ฐานข้อมูลเก็บแค่ยอดเงินของผู้ใช้แต่ละคนพอ
3. deposit ฝากเงิน ฝากเดียวจ้างกใครให้เงินมาเก็บๆ อย่างเดียวไม่สนใจอะไร ฐานข้อมูลก็เก็บแค่ transaction ที่ถอนอย่างเดียว
4. sms แจ้งเตือนฝากถอนฟ้องอย่างเดียวจ้าใครฝากใครถอนโอนเงินให้ใครรู้หมดเก็บแค่ข้อมูล sms ที่ออกไปก็พอ
จะเห็นว่าถ้าออกแบบสถาปัตยกรรมระบบในรูปแบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นได้ถ้าระบบใดระบบหนึ่งล่มระบบอื่นก็ยังสามารถทำงานอยู่ได้ เช่น โอนเงินล่ม แต่ก็ยังสามารถฝากเงินได้อยู่ดี ทีม balance อยากใช้ PHP ทีม sms จะใช้ node.js ก็ไม่มีปัญหาระบบไหนพังก็ดูแลเป็นระบบๆ ไป
ปัญหาของ Microservice
ถึง Microservice จะดูเทพมากมายขนาดไหนก็ยังมีปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนของระบบและการคุยกันระหว่าง service อยู่ดีเช่น การถอนเงินจากสถาปัตยกรรมของระบบข้างต้นถ้าผู้ใช้จะถอนเงินก็จะมี flow ประมาณนี้
จาก flow จะเห็นว่าเมื่อโอนเงินเสร็จระบบ payment ต้องส่งข้อความไปถึงสองครั้งเพื่อบอกระบบ sms กับ balance ว่าโอนเงินเสร็จแล้วนะ แล้วถ้าเกิดวันนึงอยากจะเพิ่มระบบ log เพื่อมาเก็บ transaction เข้าออกของทั้งระบบ แต่ละทีมก็ต้องไป implement เพิ่มเพื่อให้ส่งข้อความไปบอกระบบ log ว่าโอนแล้วนะ ฝากแล้วนะ ส่ง sms แล้วนะ อีกวุ่นวายเข้าไปใหญ่
แนวคิดของ Seneca.js
จากปัญหาข้างบนจึงมีคนคิดขึ้นมาได้ว่าถ้างั้นแทนที่เราจะส่งต้องข้อความไปบอกทีละ Microservice ว่าทำนั่นแล้วนะทำนี่แล้วนะ เราก็ให้ Microservice ของเราตะโกนไปว่าฉันทำเสร็จแล้วนะ ทีนี้ Microservice ตัวไหนที่รออยู่ก็สามารถรับข้อความไปได้เลยไม่ต้องไล่ส่งข้อความไปบอกทีละคนอยู่ ถ้าต่อไปมี Microservice อื่นที่ต้องใช้ข้อความนี้ก็เอามาประกอบได้เลยไม่ต้องไปแก้อันเก่าแค่รอรับข้อความก็พอ ซึ่งก็คือ Seneca.jsนั่นเอง Seneca.js เนี่ยเค้าบอกว่าตัวเองคือ
Seneca is a microservices toolkit for Node.js. It helps you write clean, organized code that you can scale and deploy at any time.
แปลไทยก็ประมาณว่า seneca คือเครื่องมือที่ช่วยให้สถาปัตยกรรม Microservice ที่ implement ด้วย Node.js ชีวิตดีขึ้นว่างั้นเถอะ (สรุปเอาดื้อๆ) มันจะดีอย่างที่เค้าว่าหรือเปล่า ต่อไปเรามาลองใช้ Seneca.js กันนะครับ โดยเพื่อความสมจริง เราจะทำ Microservice 2 ตัวดังนี้
1. interface รับชื่อมาจาก Microservice
2. hello เอาชื่อมาส่งข้อความกลับไปว่า Hello ‘...'
Install
//interface service mkdir interface cd interface npm init npm install seneca express body-parser --save //plus service mkdir plus cd plus npm init npm install seneca --save
Implement Seneca
//interface service
const app = require('express')(),
seneca = require('seneca')();
app.get('/', (req, res) => {
let name = req.query.name;
seneca.client().act({service: 'hello', name: name}, (err, result) => {
if (err) return console.error(err)
res.send(result.answer)
});
})
app.listen(3000, function() {
console.log('Listening on port: 3000');
});
จาก Code ข้างบนจะเห็นว่าก็ใช้ express ธรรมดาสิ่งที่อยากให้โฟกัสก็คือ
seneca.client().act({service: 'hello', name: name}, (err, result) => {
if (err) return console.error(err)
res.send(result.answer)
});
คำสั่ง
seneca.client().act({service: 'hello', name: name});
คือการสั่งให้ seneca ตะโกนออกไปนะครับ ซึ่งค่าที่ส่งไปเป็นแบบ key-value
(err, result) => {
if (err) return console.error(err)
res.send(result.answer)
});
คือการ handle สิ่งที่ตอบกลับมา
ต่อมาเราจะมาดูในส่วนของ Microservice hello กันนะครับ
//hello service
const seneca = require('seneca')();
let hello = (msg, reply) => {
reply(null, {answer: ('Hello ' + msg.name)})
};
seneca.add('service:hello', hello).listen();
คำสั่ง
seneca.add('service:hello', hello).listen();
คือการบอกให้รอฟังสิ่งที่ service อื่นตะโกนมานะครับโดยจะต้อง match กับ
'service:hello'เท่านั้นถึงจะทำงาน แล้วเราก็ส่ง function hello เข้าไปเพียงแค่นี้พอเราลองรัน service ทั้งสองตัวและเรียกไปที่ http://localhost:3000?name=noob ก็จะมี response ตอบกลับมาตามรูปนะจ๊ะ
หากต้องการ fix port, protocol, ip ก็สามารถทำได้ดังนี้
//interface service
.client({ port: 8080, host: '192.168.0.2',type: 'http' })
//hello service
.listen({ port: 8080, host: '192.168.0.2',type: 'http' })
นอกจากนี้ seneca.js ยังมีลูกเล่น และ plugin อีกเยอะแยะมากมายบรรยายไม่หมดเลยนะครับโดยสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ http://senecajs.org/
Conclusion
จากที่ลองใช้งานดู seneca.js เป็นเครื่องมือที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายมากๆ แล้วแต่ว่าจะเอาไปทำอะไร ไม่ว่าเป็น healthcheck, log system, แชร์ config, แชร์ library ระหว่าง service, ส่ง message ไปหา service อื่น, etc. เรียกว่าของมันต้องมี เชื่อผมเถอะแล้วชีิวิตจะง่ายขึ้น! เหมือนเดิมครับตัวอย่าง code สามารถดูได้ ที่นี่ ถ้าชอบก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์ด้วยนะครับบ จุ๊บปาก <3